การประชุมและนิทรรศการครั้งที่ 1
เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี :
เสริมพลังการประดิษฐ์สู่นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต
การประชุมและนิทรรศการครั้งที่ 1 เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
“เสริมพลังการประดิษฐ์สู่นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต”
ที่มาของการสัมมนา
เพื่อกระตุ้นการประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าด้านวิชาการและนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาล ตลอดจน ความก้าวหน้าของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทางด้านสุขภาพและด้านต่างๆใน supply chain ที่เกี่ยวข้อง กับสุขภาพมาขับเคลื่อนเพื่อก้าวสู่การเป็น Hub of Wellness in Asia
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ว่าจะเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และ เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันนั้นทำให้ปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพเพิ่มขึ้นกลไกการปรับตัวของร่างกายธรรมดานั้นอาจไม่สามารถช่วยต้านภาวะดังกล่าวได้ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาพยาบาลโดยตรงและกลุ่มที่เกี่ยวข้องใน supply chain ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่นอาหาร เครื่องดื่ม อาหารเสริมสุขภาพ ยา สปา การออกกำลังกาย เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ การฟิ้นฟูสมรรถนะ การกีฬา และ อุปกรณ์และเครื่องมือด้านความงามและสปา การแพทย์ทางเลือกประเภทต่างๆ ตลอดจนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จัดเป็นเป็นเครื่องมือและกลไกที่นอกจากจะทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นแล้วยังสามารถเป็นกลไกที่ช่วยผลักดันในการสร้างจุดเด่น เสริมศักยภาพการเป็นเมืองไมซ์ซิตี้และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน เสริมสร้างการพัฒนาเมืองอย่างมีทิศทางและยั่งยืนร่วมด้วย โดยเฉพาะในยุคนี้ซึ่งผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อการรักษ์สุขภาพอย่างมาก ส่งผลให้ตลาดของอุตสาหกรรมทางการแพทย์และการสร้างเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีการเติบโตขึ้นอย่างมาก
ประเทศไทยจัดว่ามีความได้เปรียบในหลายด้าน โดย มีทุนทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถพัฒนาเพื่อรองรับการบริการ มีสถานที่และแหล่งท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์และเหมาะสมกับการฟื้นฟูสุขภาพ และมีองค์ความรู้ในด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือกแบบผสมผสาน ความรู้ด้านอาหารสุขภาพ ยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรตลอดจนการนวดแผนไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ทั้งยังมีค่ารักษาและค่าครองชีพที่ไม่สูงมากนัก นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีศักยภาพในการผลิตวัตถุดิบสำหรับภาคการผลิตของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงประกอบกับมีลักษณะภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการทำ การเกษตร ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถผลิตพืชผลทางการเกษตรได้หลากหลาย ทั้งยังมีความเข้มแข็งในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของประเทศไทยในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจทางการแพทย์และการเสริมสร้างสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยยังมีความหลากหลายในด้านมรดกท้องถิ่น (local heritage) โดยเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์ โบราณคดีของพื้นที่แต่ละภาค มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลายน่าสนใจซึ่งสามารถนำมาบูรณาการสร้างอัตลักษณ์และมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการบริการทางการแพทย์และการสร้างเสริมสุขภาพได้
อย่างไรก็ตามปัจจุบันตลาดในเรื่องของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Health and Wellness) มีการแข่งขันสูงมาก อีกทั้งทิศทางการดูแลสุขภาพได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก
“One for All” เป็น “Personalized Care” ซึ่งเน้นการ approach แบบ Holistic ไม่ได้สนใจเพียงสภาพ physical เท่านั้นแต่ให้ความสำคัญกับ psychosocial aspect และ สิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคลที่ต่างกัน ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพตลอดจนอุตสาหกรรมใน supply chain ที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง health paradigm ที่เกิดขึ้น จึงควรมีการ update องค์ความรู้ทั้งทางวิชาการและความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้สร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมด้านการแพทย์และการสร้างเสริมสุขภาพตลอดจนความงาม และอุตสาหกรรมใน supply chain ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันนอกจากให้ความสำคัญกับสุขภาพ ยังคำนึงถึงความคุ้มค่าและเรื่องของจริยธรรมของแบรนด์ว่าสิ่งที่ผู้บริโภคใช้อยู่เป็นไปได้จริงตามแบรนด์ได้กล่าวอ้างหรือไม่ ผู้บริโภคจึงมีการความสนใจและตรวจสอบกันมากขึ้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์และการบริการด้านนี้จึงควรมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะจากงานวิจัยที่มีการออกแบบการศึกษาอย่างถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันการพัฒนางานวิจัยด้านนี้นั้นมักยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจที่เป็นหลักการขับเคลื่อนธุรกิจดังกล่าว และมักต่างคนต่างทำทำให้เกิดความซ้ำซ้อนง่าย ขาดความร่วมมือการทำงานของภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรมีการเรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการและนวัตกรรม ตลอดจนความต้องการด้านนี้ร่วมกัน
แนวทางการจัดงาน
การประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นที่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยครอบคลุมหัวข้อที่สำคัญ ได้แก่ สุขภาพ สมรรถภาพทางกาย โภชนาการ รูปลักษณ์ การนอนหลับ และการมีสติ โดยจะเน้นการแสดงนวัตกรรมและการพัฒนาที่เกี่ยวข้องในด้านเหล่านี้อย่างครบวงจร
สุขภาพ
สมรรถภาพทางกาย
โภชนาการ
รูปลักษณ์
การนอนหลับ
การมีสติ
ผู้สนับสนุน